ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล๊อกวิชาภาษาไทย

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

 
 
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่มา : หนังสือ มณีพลอยร้อยแสง หมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา
จุดมุ่งหมาย : แสดงให้เห็นถึงทุกข์ของชาวนา โดยผ่านบทกวี
ลักษณะคำประพันธ์ : ความเรียง โดยใช้บรรยาโวหาร - สาธกโวหาร (ยกตัวอย่างบทกวี)

บทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจินต์
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเป็นกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน

แทนตนเองว่าเป็นชาวนา ที่เรียกร้องความเสมอภาค และแสดงถึงความยากลำบาก แสนสาหัส ในการทำนา ปลูกข้าว ให้ทุกคนกิน
ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อชาวนาในด้านปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา การรักษาความยุติธรรมก็แทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ แต่ก็ยังมีชาวนาอีกจำนวนหนึ่ง ที่จะขยับขยายตัวเองให่อยู่ในสถานะดีขึ้น ด้วยการปลูกข้าวให้คนอื่นกินต่อไป    อ่านต่อ

การเขียนจดหมาย

        ในปัจจุบัน โลกมีการพัฒนาการสื่อสารทางโทรคมนาคมได้สะดวก และรวดเร็ว แต่การสื่อสารอีกชนิดที่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การเขียนจดหมาย เพราะสามารถเขียนได้ทุกเวลา ทุกโอกาส เก็บไว้ได้นาน จดหมายของบุคคลสำคัญจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคต และจดหมายที่เขียนดีมีคุณค่าก็อาจเป็นวรรณกรรมได้
หลักการเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายควรยึดหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้
ขนาดซองการใช้ซองขนาดมาตรฐาน ปัจจุบันที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะมีซองจดหมายจำหน่าย นับว่าเป็นซองที่มีขนาดเหมาะสม โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ดังนี้
      ๑.  ซองสั้น มีขนาด ๓.๕ x ๖ นิ้ว ถึง ๔.๕ x ๗ นิ้ว
      ๒.  ซองยาวมีขนาด ๔.๒๕ x ๙ นิ้ว    อ่านต่อ

มงคลสูตรคำฉันท์



      มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๖
คำ "มงคล" หมายความถึงเหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวงหรือ
อาจแปลให้ง่ายว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า หรือทางก้าวหน้านั่นเอง
มงคลสูตร เป็นพระสูตรในพระพุทธศาสนา มีที่มาจากพระไตรปิฏก พุทธศาสนิกชนไทยรู้จักกันดี
ในเวลาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลทั่วไป จะต้องสวดบทมงคลสูตรเสมือน
โดยปกติเมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มาถึงบทมงคลสูตร องค์ที่เป็นประธานจะเริ่มหยดเทียนลงใน
ขันน้ำพระพุทธมนต์สำหรับใช้พรม เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสิริมงคลตามคตินิยม ทั้งนี้เพราะเนื้อความในมงคลสูตรกล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ
รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ และกาพย์ฉบัง ๑๖  อ่านต่อ

ตัวชี้วัด

๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม

๒. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน

๓. วิเคราะห์วิจารณาเรื่องที่อ่าน

๔. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง

๕. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๖. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน

๗. มีมารยาทในการอ่าน

๘. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง

๙. เขียนเรียงความได้

๑๐. เขียนย่อความได้

๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน

๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ

๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง

๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้

๑๕. มีมารยาทในการเขียน

๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

๑๗. มีวิจารณาญาณในที่เลือกและดู

๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด

๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ

๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม

๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้

๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้

๒๓. วิเคราห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๒๔. วิเคาระห์วิจารณาวรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้

๒๕. วิเคาระห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์

๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้

๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้

๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้